หลักการและเหตุผล

          กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และสนองตอบต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ สร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ข้อที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้ง การพัฒนาสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Society) เพื่อสร้างผู้ประกอบการทางธุรกิจที่พิจารณาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนธุรกิจ (From Entrepreneur to Technopreneur) สู่การเป็น “ผู้ผลิตได้ ขายเป็น” รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการไทยตลอดห่วงโซ่มูลค่า โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  (OTOP) ของรัฐบาลได้เริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศ ระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน เป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง โดยรัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือด้านความรู้ เทคโนโลยี ทุน การบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีแนวคิดที่เน้นกระบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชนหรือ ตำบล ได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมา พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ ที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่จากการที่ผ่านมาการดำเนินการของกลุ่ม OTOP จะพบปัญญาแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความพร้อม ศักยภาพ การตลาดและการร่วมกลุ่มที่เข้มแข็ง โดยต้องได้รับความช่วยเหลือด้านองความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาดจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและทุกหน่วยงานในจังหวัดไปพร้อมกัน

          จังหวัดอุตรดิตถ์ มียุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ ดังนี้ เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย การท่องเที่ยวพัฒนา การค้าชายแดนเติบโต โดยมีพันธกิจข้อที่ 2. ในการส่งเสริม พัฒนา ผลผลิตด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า OTOP ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพปลอดภัย และมีระบบการตลาดที่ดี ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ถือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียงแห่งเดียวในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน ได้ดำเนินการงานของมหาวิทยาลัยให้สอดรับกับยุทธศาสตร์จังหวัด โดยเน้นการบูรณาการการเรียนสอน การบริการวิชาการ และงานวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน และมีการบริหารจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และมีกลยุทธ์ในการสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการให้กับภาคเกษตร และผู้ประกอบการตลอดจนการส่งเสริมกลุ่ม OTOP กลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความเข้มแข็ง ในระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยการส่งเสริมศักยภาพอาจารย์ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ภาคเอกชนและอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากการทำงานวิจัยของอาจารย์ในชุดโครงที่ 1 การศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์ ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 27 โครงการนักวิจัยในโครงการจำนวน 51 คน ชุดโครงการที่ 2 การศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบของเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ชุดโครงการที่ 3 การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการผลิตทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล ในกระบวนเกษตรเพื่อความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของจังหวัดอุตรดิตถ์ ชุดโครงการที่ 4 ชุดโครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์และงานวิจัยอื่น ๆ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องปฏิบัติการที่ใช้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ในด้านการวิเคราะห์น้ำและโปรตีนในเนื้อสัตว์ รวมทั้งเป็นแหล่งตรวจวิเคราะห์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) กระทรวงอุตสาหกรรม ของวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ในภาคเหนือตอนล่าง และมีผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการปีละมากกว่า 100 ราย/ปี นอกจากนี้ยังมีอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ทำหน้าที่ในการให้การสนับสนุนส่งเสริมการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการตั้งแต่การพัฒนาการผลิต คิดค้นวิจัย รวมถึงการจัดทำแผนการตลาด โดยมุ้งเน้นการสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและสามารถแข่งขันในตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ โดยส่งเสริมผู้ประกอบการ ตั้งแต่ระดับวิสาหกิจเริ่มต้น OTOP SMEs และ SML  จึงเกิดโอกาสอันดีที่จะดำเนินโครงการขับเคลื่อนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒  โดยช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการการสร้าง/ขยายตลาด ในการเพิ่มช่องทางการตลาด ทั้ง off Line และ one-line การสร้างแบรนด์ และการเสริมสร้างเครือข่าย ผ่านการดำเนินการตามพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย